ยาขับเลือด แก้ ประจำเดือน มาไม่ปกติ ได้หรือไม่
การมี ประจำเดือน เป็นเรื่องปกติของผู้หญิง แต่กับหลาย ๆ คน จะต้องเจอกับปัญหา ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไม่ก็มาช้า จนบางทีคิดว่าตนเองตั้งครรภ์ การทาน ยาขับเลือด จะสามารถ แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ได้หรือไม่
ผู้หญิง กับสิ่งที่ต้องเป็นวันนั้นของเดือน ที่เราจะต้องระวังว่าจะมาวันไหนแล้วนั้น บางทีต้องเจอกับปัญหา ประจำเดือนมาไม่ปกติ มาช้าบ้าง หรือบางเดือนไม่มาบ้าง เพราะ ฮอร์โมน ในร่างกายเรา ไม่อาจคาดเดาได้ ทำให้เรารู้สึกหวาดระแวง กลัวประจำเดือนมาโดยไม่รู้ตัว
ประจำเดือน ( Menstruation ) หมายถึง การที่มีเลือดออกมาทางช่องคลอดเป็นประจำทุกเดือน เป็นอาการที่แสดงถึงความพร้อมของร่างกายสู่การเจริญพันธุ์
ประจำเดือน เกิดจาก การที่สมองหลั่งฮอร์โมน จากต่อมใต้สมองมากระตุ้นรังไข่ให้สร้างฮอร์โมน เอสโตรเจน ( Estrogen ) และ โปรเจสเตอโรน ( Progesterone ) ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้ จะทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น เพื่อรอรับการฝังของตัวอ่อน และในแต่ละเดือนจะมีไข่ตกเดือนละ 1 ฟอง หากไม่มีการปฏิสนธิ เยื่อบุโพรงมดลูกที่เตรียมรอรับตัวอ่อนจะหลุดออกมาเป็นประจำเดือน
โดยปกติ ผู้หญิง จะมีประจำเดือนทุก ๆ 28-30 วัน หรืออยู่ในช่วง 21-35 วัน โดย ประจำเดือน มาประมาณ 3-5 วัน หรือไม่ควรมาเกิน 7 วัน และปริมาณประจำเดือนที่ออกมา แต่ละวันไม่ควรเกิน 80 ซีซี หรือเท่ากับผ้าอนามัยประมาณ 4 ผืนต่อวัน แต่สำหรับบางคน อาจเจอปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือที่เรียกว่า ภาวะขาดประจำเดือน ( Amenorrhea )
ภาวะขาดประจำเดือน ( Amenorrhea ) คือ ภาวะใดภาวะหนึ่งที่ทำให้ไม่มีเลือด ประจำเดือนออกมาตามปกติ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ภาวะขาดประจำเดือนปฐมภูมิ ( Primary Amenorrhea ) คือ ผู้หญิงที่อายุครบ 18 ปี บริบูรณ์ แต่ยังไม่เริ่มมีประจำเดือน โดยปกติ ผู้หญิงจะมีประจำเดือนตั้งแต่อายุ 12 ปี
2. ภาวะขาดประจำเดือนทุติยภูมิ ( Secondary amenorrhea ) คือ ผู้หญิงที่เคยมีประจำเดือนมาก่อน แต่ต่อมาประจำเดือนขาดหายไปอย่างน้อย 6 เดือน
หากเป็นผู้หญิงที่อายุเกิน 15 ปีแล้ว แต่ประจำเดือนครั้งแรกยังไม่มา หรือผู้หญิงที่ ประจำเดือน ไม่มาเกิน 3 เดือนติดต่อกัน จะถือว่ามี ภาวะขาดประจำเดือน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาช้า หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ เกิดจากหลายปัจจัย ดังนี้
1. ความเครียด
2. การคุมกำเนิด โดยใช้ฮอร์โมน มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคเซลิแอค ( Celiac Disease ) ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
3. เข้าสู่วัยทอง หรือ วัยหมดประจำเดือน ( Menopause ) เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุระหว่าง 45-55 ปี เนื่องจากระดับฮอร์โมนเริ่มลดลง ทำให้ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ หรืออาจไม่ตกเลย
4. ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
5. น้ำหนักตัวน้อยเกินไป หรือมากเกินไป สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยจะมีไขมันน้อย ซึ่งจำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตก ส่วนผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก อาจจะส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมน เอสโตรเจน ( Estrogen ) มากเกินไป
6. ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ( Polycystic Ovary Syndrome: PCOS ) เป็นความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อหรือฮอร์โมนในร่างกาย
วิธีเร่งประจำเดือน ให้มาเร็วขึ้น
หากประจำเดือนของคุณมาช้า หรือคุณมีความจำเป็นต้องเร่งประจำเดือนให้มาเร็วกว่าปกติ เรามี วิธีเร่งประจำเดือน ให้มาเร็วขึ้น และทำได้ง่าย ๆ มาฝาก ดังนี้
ยาคุมกำเนิด
หากคุณมีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติเรื้อรัง และคุณอาจต้องใช้การ คุมกำเนิด โดยใช้ฮอร์โมน เพื่อควบคุมระดับฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย และทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ
ผ่อนคลาย
สาเหตุ จากการที่ประจำเดือนมาช้า หรือผิดปกติ อาจจะเกิดจากความเครียด เพราะเมื่อคุณเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนบางชนิด เช่น คอร์ติซอล อะดรีนาลีน ออกมามาก ฮอร์โมน เหล่านี้จะไปยับยั้งการหลั่งฮอร์โมน เอสโตรเจน ( Estrogen ) และ โปรเจสเตอโรน ( Progesterone ) ที่ช่วยให้รอบเดือนเป็นปกติ ดังนั้นเราควรหาเวลาพักผ่อน หรือหากิจกรรมทำคลายเครียด เพื่อให้รอบเดือนเรามาเป็นปกติดังเดิม
ยาขับประจำเดือน
ยาขับประจำเดือนคือ ยาฮอร์โมนเอสโตรเจน ( Estrogen ) และ ยาสอด ในปัจจุบัน มียาขับประจำเดือน ชนิดสอด ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ
ยาสอด ไซโตเทค ( Cytotec ) มีตัวยา ไมโซพรอสทอล ( Misoprostol )
ยาสอด อาร์ยู 486 ( RU486 ) มีตัวยา คือ ไมเฟพริสโตน/มิฟิพริสโตน ( Mifepristone )
ทั้งนี้หากเรายังไม่รู้เรื่องการขับประจำเดือนมากพอ ควรได้รับคำปรึกษาจากผู้เชียวชาญ หรือแพทย์ ไม่งั้นอาจจะเกิดอันตรายได้
บทความเพิ่มเติม
ทำความเข้าใจ กับยาขับเลือด
ยาขับเลือด ตัวช่วยลดอาการปวดประจำเดือน
ยาขับเลือด กับ ผลข้างเคียง หลังใช้ที่อาจตามมา
https://www.cytotank.org/blog/read/27