ยาขับเลือด ตอบโจทย์ ปัญหาของผู้หญิง
ผู้หญิง จะต้องเจอกับ ปัญหาสุขภาพ ต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะการ ปวดท้องประจำเดือน เป็นอะไรที่ทรมานมาก ๆ สำหรับผู้หญิง วันนี้เราเลยมาดูกันว่า ยาขับเลือด สามารถแก้ ปัญหาของผู้หญิง ได้หรือไม่
ผู้หญิง เมื่อเข้าสู่วัยสาว ระบบการทำงานต่าง ๆ ในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะ เริ่มมีประจำเดือน ซึ่งประจำเดือน อาจจะทำให้เกิดสิว หรือ ปวดท้อง ประจำเดือน ได้ ปัญหาเหล่านี้มักเกิดขึ้นบ่อย ๆ สำหรับผู้หญิง
การที่ ประจำเดือน มาอย่างแรกที่เราต้องเจอเลย คือ ปวดท้องน้อย หรือบางคนอาจจะปวดหัว หรือ ปวดตัว ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ยังไม่สามารถแก้ไขได้ และต้องใช้เวลานานกว่าจะหายเป็นปกติ และก็กลับมาอีกในเดือนถัดไป
ปวดประจำเดือน ( Dysmenorrhea ) จากการที่ มดลูก ของ ผู้หญิง เป็นกล้ามเนื้อ การทำงานเลยมีทั้งบีบตัว และคลายตัว มดลูกจะบีบตัว เพื่อไล่เลือดที่อยู่ในมดลูก บางคนอาจจะเกิดอาการเหมือน คนปวดท้องถ่าย แต่บางคน ปวดท้องประจำเดือน และปวดถี่ สาเหตุอาจจะเป็นเพราะมดลูกบีบตัวแรง
เกิดจากกระตุ้นของ โพรสตาแกลนดิน ( prostaglandin ) หรือมีโรคอื่น เช่น ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ( endometriosis ) อาการปวด อาจจะปวดก่อนมีประจำเดือนหลายวัน เมื่อ ประจำเดือน มาอาการปวดจะดีขึ้น สำหรับผู้ที่ปวดมาก อาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ด้วย
อาการปวดหัว ก่อนเป็นประจำเดือน สาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระบบ ฮอร์โมน ภายใน ร่างกาย ของเรา และมีหลายอาการ บางคนอาจจะปวดหัว เป็นสิว ปวดหลัง ปวดเอว อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย แต่แตกต่างกันที่ อาการของแต่ละคน บางคนมี ประจำเดือน ก็เป็นปกติไม่มีอาการใด ๆ แทรกซ้อน แต่สำหรับบางคนอาจจะนอนซมอยู่ในห้องไปไหนไม่ได้
ดังนั้น อาการปวดหัว ก่อนมีประจำเดือน เกิดจากเส้นเลือดนอกสมองของเรา ซึ่งถูกควบคุมด้วยระบบ ฮอร์โมน มีการขยายตัว ทำให้เราปวดศรีษะ หรือ ปวดหัวไมเกรน หลายคนคิดว่า ไมเกรน ต้องปวดหัวข้างเดียว แต่จริง ๆแล้ว ไมเกรน สามารถมีอาการปวดทั้ง 2 ข้าง ที่มันปวดคล้ายกัน เพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้เกิดการ ขับเลือด ที่ผนังมดลูก แล้วมีเลือดออกมา เป็นสัญญาณว่า ฮอร์โมน ได้เปลี่ยนแปลงแล้ว
หากเรามี อาการปวดหัว ก่อนมีประจำเดือน ถือเป็นเรื่องปกติ เมื่อเราปวด ก็ควรพักผ่อน ทานยาแก้ปวดพาราเซตามอล เพื่อลดอาการ แต่หากปวดหนักมาก ก็สามารถพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุว่า มีอาการอื่นร่วมด้วยไหม
จาก อาการปวดหัว ก่อนมีประจำเดือน จะสามารถหายสนิทนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะร่างกายของเราจะต้องมี การเปลี่ยนแปลงของ ฮอร์โมน อยู่บ่อย ๆ เป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว
และสำหรับ ผู้หญิง บางคน ต้องเจอกับ ปัญหา ประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นอะไรที่สาว ๆ ส่วนใหญ่ไม่สามารถคาดเดาได้เลย ทำให้การใช้ชีวิตประจำวัน ต้องอยู่กับความหวาดระแวง กลัวว่าประจำเดือนจะทะลุออกมานอกกางเกง หรือกระโปรง หรือไม่ มันไม่ใช่เรื่องดีเลยสำหรับผู้หญิง เพราะเราจะโดนมองด้วย สายตาแปลกประหลาด ซึ่งเราก็ไม่อยากให้มันเกิดขึ้นเหมือนกัน
เมื่อเราพูดถึงปัญหาของ ผู้หญิง ยาขับเลือด ก็กำลังเป็นที่นิยมสำหรับสาว ๆ ที่ต้องเจอกับปัญหาเหล่านี้ในทุก ๆ เดือน แต่คนจะคิดว่า ยาขับเลือด คือยาที่ขับตัวอ่อนของทารกในครรภ์ แต่บางความหมายก็คือ ยาขับเลือด ประจำเดือน
สำหรับบางคนก็มีความเชื่อ เกี่ยวกับ การมาของ ประจำเดือนที่ต่างกันออกไป เรามาดูกันว่าจะมีความเชื่อใดบ้าง
1. ประจำเดือน มามาก ก็เท่ากับว่า ขับของเสีย ออกจากร่างกายมาก
ประจำเดือน ไม่ใช่เลือดเสีย แต่เป็นเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกมา พร้อมกับเลือดเท่านั้น และการที่ ประจำเดือน มามาก จึงไม่ใช่การ ขับของเสีย ออกจากร่างกาย และบางครั้งหากมามากจนผิดปกติ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของ ภาวะผิดปกติ ได้อีกด้วย
2. มี เพศสัมพันธ์ ระหว่างมี ประจำเดือน จะไม่ท้อง
การมี เพศสัมพันธ์ ขณะที่ฝ่ายหญิง กำลังมีประจำเดือน จะช่วยลดโอกาสในการ ตั้งครรภ์ ได้ ซึ่งความจริงแล้วการมี เพศสัมพันธ์ ขณะที่มีประจำเดือน มีโอกาส ตั้งครรภ์ ได้เหมือนกัน
เพราะบางคนการมีเลือดซึม ๆ ออกมาในวันแรก อาจไม่ใช่เลือดจากประจำเดือน แต่อาจจะเป็นเลือดจากการตกไข่ และการมีเพศสัมพันธ์ในวันท้าย ๆ ของการมีประจำเดือน ก็สามารถ ตั้งครรภ์ ได้ เพราะ อสุจิ ของผู้ชาย สามารถมีชีวิตอยู่ได้ หลังจากการหลั่งได้ถึง 72 ชั่วโมง
3. ทานของเย็น จะทำให้ประจำเดือน เป็นลิ่มเลือด
การที่ ประจำเดือน ของผู้หญิงมา จะทำให้ ภูมิคุ้มกัน ลดลง และการกินของเย็น อาจจะทำให้ร่างกายเราปรับอุณหภูมิไม่ทัน แต่ก็ไม่เกี่ยวกับการกินของเย็น แล้ว ประจำเดือน เราจะเป็นลิ่มเลือด
สำหรับ ปัญหาของผู้หญิงที่ต้องพบเจอทุกเดือน ไม่ว่าจะเป็นปวดท้อง ปวดหัว หรือปวดตัวก็ตาม ไม่สามารถหายได้ เพราะฮอร์โมน ในร่างกายเรา มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด นอกจากเราทาน ยาแก้ปวด ซึ่งเป็นแค่การบรรเทาอาการในช่วงนั้น ก็เท่านั้น ไม่สามารถหายได้ตลอดการเป็นประจำเดือน
บทความเพิ่มเติม
ยาขับเลือด แก้ ประจำเดือน มาไม่ปกติ ได้หรือไม่
ยาขับเลือด ตัวช่วยลดอาการปวดประจำเดือน
https://www.cytotank.org/blog/read/29